บริบทของกลุ่ม

เมื่อปี 2474 พระยาอัธยาศัยวิศุทธิ์ (โชติ กนกมณี) เป็นเจ้าเมืองอุตรดิตถ์ ในขณะนั้น มีภริยาคือคุณหญิงแข  อัธยาศัยวิศุทธิ์ มีบุตรด้วยกัน 11 คน คุณยายจิราภา กนกมณี เป็นบุตรคนที่ 3 ซึ่งสมัยนั้นพระยาอัธยาศัยวิศุทธิ์ มีบ่าวไพร่รับใช้มากมาย รายได้จากเงินเดือน จึงไม่เพียงพอแก่การดูแลบ่าวไพร่ คุณหญิงแข อัธยาศัยวิศุทธิ์  และบุตรสาว 3 คน ได้ช่วยทำขนมหลายชนิดแล้วให้บ่าวไพร่ไปขายที่ตลาด สามารถสร้างรายได้ช่วยเหลือครอบครัวอีกทางหนึ่ง ครั้งหนึ่งมีเจ้านายพระองค์หนึ่งได้เสด็จมาทอดพระเนตรวัตถุโบราณของเก่าที่เมืองสุโขทัยและได้เสด็จมาเยี่ยมเมืองอุตรดิตถ์ด้วย พระยาอัธยาศัยวิศุทธิ์จะต้องเข้าเฝ้ารับเสด็จเพราะมีตำแหน่ง เป็นเจ้าเมือง คุณหญิงแข  อัธยาศัยวิศุทธิ์ ได้ทำขนมขึ้นถวาย ชื่อว่า “ขนมเทียนเสวย”นำมาขึ้นถวายเจ้านายพระองค์นั้นและพระองค์ก็ทรงพอพระทัยเป็นอย่างมาก แม้กระทั่ง ท่านหญิงละเอียด ภริยาท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม เอ่ยปากชมว่าขนมเทียนเสวย มีความสวยงามในการห่อ และมีรสชาติอร่อย นับตั้งแต่นั้นมาขนมเทียนเสวยก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นขนมคู่บ้านกนกมณีมาโดยตลอด ต่อมาคุณจิราภา กนกมณี ได้สมรสกับพันตำรวจตรีปราโมทย์ คชนิล และได้ออกเรือนเปิดเรือนใหม่ถัดออกมาจากบ้านหลังใหญ่หลังเดิมที่เคยอยู่กับคุณพ่อคุณแม่และได้ยึดอาชีพขายขนมเทียนเสวยเพื่อจำหน่ายแล้วได้ตั้งชื่อว่า จิราภา ขนมเทียนเสวย(บ้านกนกมณี) สร้างรายได้มาตลอดจนถึงปัจจุบันจึงใช้ชื่อว่า “จิราภาขนมเทียนเสวย”การทำขนมเทียนเสวยนั้นวัตถุดิบหลักจะเป็นข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล คลุกกับงาขาวคั่วแล้วนำมาห่อด้วยใบตองกล้วยป่ารีด จากนั้นนำมาอบด้วยเทียนอบขนมให้หอม

จิราภาขนมเทียนเสวย เป็นผู้ประกอบการรายเดี่ยวที่ส่งผลิตภัณฑ์เข้าร่วมคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน อย. มผช.เรียบร้อยแล้ว โดยผลิตภัณฑ์จะมีเพียงอย่างเดียวคือขนมเทียนเสวย ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขนมเทียนเสวย ให้มีหลากหลาย เพื่อให้เป็นทางเลือกของผู้บริโภค และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย โดยการนำพัฒนานำเอาข้าวเหนียวดำมาเป็นส่วนผสมแล้วตั้งชื่อว่า “ขนมทับทิมเสวย” ซึ่งได้ตัวเนื้อขนมจะเป็นสีม่วงเข้ม เหนียวนุ่ม หอม หวาน มาคลุกกับงาขาวคั่วห่อด้วยใบตองรีด แล้วอบด้วยควันเทียน ข้าวเหนียวดำ (Black sticky rice)ส่วนใหญ่นำมาบริโภคในรูปแบบของขนมหรือของหวาน จากข้อมูลงานวิจัยพบว่าส่วนที่มีสีม่วงของเปลือกหุ้มเมล็ดมีสารที่สำคัญได้แก่

1. แอนโทไซยานินส์Cyanidin-3-glucosideCyanidine-3-O-glucopyranoside Peonidin-3-0-β-gluecopyranosidePeonidin-3-0-glucoside

2. แอนโทไซยานิดินCyanidinMalvidin polymeric procyanidin

3. สารฟีโนลิกจำพวก Anisole 4-hydroxycinnamic acid (p-coumaric) 4,7-dihydroxyvanillic acid Photocatechuic acid methyl ester Syringaldehyde Vanillin

4. สารฟีโนลิก(phenolic compounds)จำพวก FerulicSinapinic acids sucrose esters 6’-O-(E)-feruoylsucrose6’-O-(E)-sinapoylsucroseFerulic acid sterol ester y-Oryzanol

5. สาร Alkaloid 4-carbomethoxy-6-hydroxy-2-quinolonePhytic acid